กุนซือเริ่ม Boxing.......Kunsue start boxing.
โตขึ้น ผมจะเป็น ซูเปอร์แมน Wants to be a superhero.
จิต 5 ปั้นยอดมนุษย์
จิต 5 ประการเพื่อการเป็นยอดคน
บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2551
หนังสือเรื่อง "Five Mind for the Future" ของ Harvard Business School เขียนโดย ศาสตราจารย์ฮาวเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) ได้กล่าวถึง จิต 5 ประการ ที่จะนำพามนุษย์ไปสู่การเป็นสุดยอดผู้นำ หรือยอดคนที่เต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพ จิต 5 ประการดังกล่าว มีดังนี้
1.จิตชำนาญการ (Disciplined Mind) เป็นวิธีคิดที่เกี่ยวกับสาขาวิชาหลักๆ และสายวิชาชีพต่างๆ ซึ่งเป็นความสามารถในการประยุกต์ความขยันหมั่นเพียรของตน พร้อมทั้งปรับปรุงสิ่งที่เล่าเรียนมาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. จิตสังเคราะห์ (Synthesizing Mind) เป็นการเลือกข้อมูลที่สำคัญจากข้อมูลมากมาย ที่ได้รับจากหลายๆ แหล่ง และจัดการกับข้อมูลได้อย่างสมเหตุสมผล ทำความเข้าใจกับข้อมูลและประเมินข้อมูลโดยปราศจากอคติ ผสมผสานให้กลายเป็นข้อมูลใหม่ ที่มีความหมายต่อตนเองและผู้อื่น
3. จิตสร้างสรรค์ (Creating Mind) เป็นยิ่งกว่าจิตชำนาญการและจิตสังเคราะห์ โดยเป็นการผลิตความคิดใหม่ๆ พร้อมตั้งคำถามที่แตกต่างไปจากเดิม และกำเนิดเป็นวิธีคิดที่สดใหม่ ซึ่งก็อาจจะกลายเป็นคำตอบที่คาดไม่ถึง
4. จิตเคารพ (Respectful Mind) เป็นการตอบสนองต่อคนและกลุ่มคนที่มีความแตกต่างหลากหลายอย่างเห็นอกเห็นใจ และเป็นไปในทางสร้างสรรค์เป็นความพยายามที่จะเข้าใจ และทำงานร่วมกันกับคนที่แตกต่างกัน เป็นการขยายขอบเขตของความอดกลั้น และความถูกต้องเหมาะสมของสังคมและการเมือง หรือกล่าวง่ายๆ จิตเคารพเป็นการยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคล และกลุ่มบุคคลนั่นเอง
5. จิตจริยธรรม (Ethical Mind) เป็นคุณลักษณะที่เป็นนามธรรมค่อนข้างมาก แต่มีความสำคัญในเชิงบทบาทในหน้าที่การงาน และบทบาทในการเป็นพลเมือง เป็นการไตร่ตรองถึงธรรมชาติของงาน รวมทั้งความต้องการ และความปรารถนาของสังคมที่เราดำรงอยู่ โดยมีแนวคิดที่สำคัญว่า "บุคคลจะตอบสนองต่อจุดประสงค์ ที่เหนือไปกว่าประโยชน์ส่วนตนได้อย่างไร" และ "ประชาชนจะทำงานโดยปราศจากความเห็นแก่ตัว และพัฒนาส่วนรวมได้อย่างไร"
จิต 5 ประการดังกล่าว การ์ดเนอร์ บอกว่า เป็นคุณลักษณะสำคัญที่ต้องมี เพราะจะช่วยให้บุคคลนั้น สามารถรับมือได้ทั้งสิ่งที่คาดหวัง และสิ่งที่ไม่คาดคิด ซึ่งถ้าปราศจากจิต 5 ประการนี้แล้ว บุคคลจะตกอยู่ภายใต้อำนาจของพลังที่ตนเองก็ไม่เข้าใจ และไม่สามารถควบคุมอะไรได้
การ์ดเนอร์ ย้ำว่า "คนที่ขาดความชำนาญการ ไม่อาจประสบความสำเร็จในงานที่ต้องการได้ และจะถูกจำกัดอยู่แค่งานที่ต่ำต้อย คนที่ขาดจิตสังเคราะห์ ก็จะถูกโถมทับด้วยข้อมูล และไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ ทั้งเรื่องงานและเรื่องคน ส่วนคนที่ขาดความคิดสร้างสรรค์จะถูกทดแทนด้วยคอมพิวเตอร์และคนที่มีไฟสร้างสรรค์ สำหรับคนที่ขาดจิตเคารพ ก็ไม่ควรค่าต่อการได้รับความเคารพจากคนอื่น อีกทั้งยังเป็นภัยต่อที่ทำงานและสาธารณชนด้วย สุดท้ายคนที่ขาดจิตจริยธรรม จะทำให้โลกขาดคนทำงานที่ซื่อสัตย์และพลเมืองที่มีความรับผิดชอบตามไปด้วย"
ทั้งนี้ เมื่อย้อนดูคุณลักษณะของชนชั้นผู้นำของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของฝ่ายบริหารประเทศ อย่างเช่น นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ก็ให้นึกสงสัยว่ามีจิต 5 ประการดังกล่าวหรือไม่ มากน้อยเพียงใด หากพิจารณาจากสภาพข้อเท็จจริงที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ก็น่าเชื่อได้ว่า คงมีจิต 5 ประการดังกล่าวข้างต้นน้อยมาก ไม่เช่นนั้นแล้ว คงไม่เป็น "นอมินี" ให้คนอื่นเขาหรอก
ส่วนชนชั้นผู้นำระดับรองๆ ลงมาในรัฐบาลหลายคนคงขาดจิต 5 ประการนี้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น รัฐมนตรีบางคนน่าจะขาดจิตชำนาญการ มิฉะนั้นแล้ว ก็น่าจะแก้ปัญหาเรื่องข้าวได้ หรือรัฐมนตรีบางคนอาจจะขาดจิตสังเคราะห์ และจิตสร้างสรรค์ไป ก็เลยเป็นได้แค่ "เป็ด" เหล่านี้ เป็นต้น
ส่วนจิตจริยธรรม อาจจะหาได้ยากมาก มิฉะนั้นแล้ว คงไม่ดึงดันเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อช่วยเหลือผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางการเมือง บางคน และบางกลุ่มที่กำลังถูกดำเนินคดีอยู่ให้พ้นผิดไป โดยผลของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แบบไม่ต้องต่อสู้ใดๆ ทางระบบศาลเลย
ในประการสุดท้าย "จิตเคารพ" ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับความเป็นประชาธิปไตย เพราะเป็นการยอมรับความแตกต่างในความหลากหลายทางความคิด แต่ดูเหมือนชนชั้นนำในขณะนี้น่าจะขาดจิตประการนี้ไป หรือไม่ก็มีน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทีท่า และการปฏิบัติการของชนชั้นผู้นำ ที่ปรากฏทางรายการสนทนาประสาสมัคร เมื่อวันเสาร์ก่อนหน้าโน้น ว่า จะสลายม็อบประชาชนอย่างเด็ดขาด รวมไปถึงปฏิบัติการจับอธิบดีกรมดีเอสไอ เมื่อเร็วๆ นี้ ก็น่าเชื่อว่าคงหาจิตเคารพไม่ได้แน่ เพราะท่าทีการแสดงออกที่ปรากฏให้เห็น ให้ได้ยินนั้นมันดูเหมือนเป็น "จิตสังหาร" มากกว่า
หมายเหตุ : ข้อมูลส่วนหนึ่งอ้างอิงจากหนังสือ "จิต 5 ปั้นยอดมนุษย์" แปลโดย เสาวลักษณ์ อัศวเทววิช และวีรวุธ มาฆะศิรานนท์ สำนักพิมพ์เอ็กซเปอร์เน็ท
ที่มา: http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2008q2/2008june10p4.htm
ศาสตร์แห่งการเป็นยอดคน 7 ประการ
สัปปุริสธรรม 7 ธรรมของคนดี ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดี
1. ธัมมัญญุตา = รู้จักเหตุ
ความรู้จักธรรม หรือ รู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล รู้จักวิเคราะห์สาเหตุของสถานการณ์และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล อาทิ นักเรียนรู้ว่าจะเรียนอย่างไร ต้องปฏิบัติอย่างไร ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมข้อนั้นๆ คืออะไร มีอะไรบ้าง พระมหากษัตริย์ทรงทราบว่าหลักการปกครองตามราชประเพณีเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้ จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการอันนั้น เป็นต้น
2. อัตถัญญุตา = รู้จักผล
ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักนั้นๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้างดังนี้เป็นต้น
3. อัตตัญญุตา = รู้จักตน
ความรู้จักตน คือ รู้ว่าตัว เรานั้น ว่ามีสถานภาพเป็นอะไร ฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น ว่าขณะนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป
4. มัตตัญญุตา = รู้จักประมาณ
ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ นักเรียนรู้จักประมาณ กำลังของตนเองในการทำงาน รัฐบาลรู้จักประมาณการเก็บภาษีและการใช้งบประมาณในการบริหารประเทศ เป็นต้น
5. กาลัญญุตา = รู้จักกาล
ความรู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น
6. ปริสัญญุตา = รู้จักชุมชน
ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักกลุ่มบุคคล รู้จักหมู่คณะ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา ต้องทำกิริยาหรือปฏิบัติแบบนี้ จะต้องพูดอย่างไร ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างไร เป็นต้น
7. ปุคคลปโรปรัญญุตา = รู้จักบุคคล
ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า มีอัธยาศัย มีความสามารถ มีคุณธรรม เป็นต้น ผู้ใดหยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ด้วยดี ว่าควรจะคบหรือไม่ จะใช้ จะตำหนิ หรือยกย่อง และแนะนำสั่งสอนอย่างไร เป็นต้น
แหล่งข้อมูล : http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit1/chapter%205/teachings/sappuris7.htm
โตขึ้น ผมจะเป็น ซูเปอร์แมน Wants to be a superhero.
จิต 5 ปั้นยอดมนุษย์
จิต 5 ประการเพื่อการเป็นยอดคน
บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2551
หนังสือเรื่อง "Five Mind for the Future" ของ Harvard Business School เขียนโดย ศาสตราจารย์ฮาวเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) ได้กล่าวถึง จิต 5 ประการ ที่จะนำพามนุษย์ไปสู่การเป็นสุดยอดผู้นำ หรือยอดคนที่เต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพ จิต 5 ประการดังกล่าว มีดังนี้
1.จิตชำนาญการ (Disciplined Mind) เป็นวิธีคิดที่เกี่ยวกับสาขาวิชาหลักๆ และสายวิชาชีพต่างๆ ซึ่งเป็นความสามารถในการประยุกต์ความขยันหมั่นเพียรของตน พร้อมทั้งปรับปรุงสิ่งที่เล่าเรียนมาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. จิตสังเคราะห์ (Synthesizing Mind) เป็นการเลือกข้อมูลที่สำคัญจากข้อมูลมากมาย ที่ได้รับจากหลายๆ แหล่ง และจัดการกับข้อมูลได้อย่างสมเหตุสมผล ทำความเข้าใจกับข้อมูลและประเมินข้อมูลโดยปราศจากอคติ ผสมผสานให้กลายเป็นข้อมูลใหม่ ที่มีความหมายต่อตนเองและผู้อื่น
3. จิตสร้างสรรค์ (Creating Mind) เป็นยิ่งกว่าจิตชำนาญการและจิตสังเคราะห์ โดยเป็นการผลิตความคิดใหม่ๆ พร้อมตั้งคำถามที่แตกต่างไปจากเดิม และกำเนิดเป็นวิธีคิดที่สดใหม่ ซึ่งก็อาจจะกลายเป็นคำตอบที่คาดไม่ถึง
4. จิตเคารพ (Respectful Mind) เป็นการตอบสนองต่อคนและกลุ่มคนที่มีความแตกต่างหลากหลายอย่างเห็นอกเห็นใจ และเป็นไปในทางสร้างสรรค์เป็นความพยายามที่จะเข้าใจ และทำงานร่วมกันกับคนที่แตกต่างกัน เป็นการขยายขอบเขตของความอดกลั้น และความถูกต้องเหมาะสมของสังคมและการเมือง หรือกล่าวง่ายๆ จิตเคารพเป็นการยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคล และกลุ่มบุคคลนั่นเอง
5. จิตจริยธรรม (Ethical Mind) เป็นคุณลักษณะที่เป็นนามธรรมค่อนข้างมาก แต่มีความสำคัญในเชิงบทบาทในหน้าที่การงาน และบทบาทในการเป็นพลเมือง เป็นการไตร่ตรองถึงธรรมชาติของงาน รวมทั้งความต้องการ และความปรารถนาของสังคมที่เราดำรงอยู่ โดยมีแนวคิดที่สำคัญว่า "บุคคลจะตอบสนองต่อจุดประสงค์ ที่เหนือไปกว่าประโยชน์ส่วนตนได้อย่างไร" และ "ประชาชนจะทำงานโดยปราศจากความเห็นแก่ตัว และพัฒนาส่วนรวมได้อย่างไร"
จิต 5 ประการดังกล่าว การ์ดเนอร์ บอกว่า เป็นคุณลักษณะสำคัญที่ต้องมี เพราะจะช่วยให้บุคคลนั้น สามารถรับมือได้ทั้งสิ่งที่คาดหวัง และสิ่งที่ไม่คาดคิด ซึ่งถ้าปราศจากจิต 5 ประการนี้แล้ว บุคคลจะตกอยู่ภายใต้อำนาจของพลังที่ตนเองก็ไม่เข้าใจ และไม่สามารถควบคุมอะไรได้
การ์ดเนอร์ ย้ำว่า "คนที่ขาดความชำนาญการ ไม่อาจประสบความสำเร็จในงานที่ต้องการได้ และจะถูกจำกัดอยู่แค่งานที่ต่ำต้อย คนที่ขาดจิตสังเคราะห์ ก็จะถูกโถมทับด้วยข้อมูล และไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ ทั้งเรื่องงานและเรื่องคน ส่วนคนที่ขาดความคิดสร้างสรรค์จะถูกทดแทนด้วยคอมพิวเตอร์และคนที่มีไฟสร้างสรรค์ สำหรับคนที่ขาดจิตเคารพ ก็ไม่ควรค่าต่อการได้รับความเคารพจากคนอื่น อีกทั้งยังเป็นภัยต่อที่ทำงานและสาธารณชนด้วย สุดท้ายคนที่ขาดจิตจริยธรรม จะทำให้โลกขาดคนทำงานที่ซื่อสัตย์และพลเมืองที่มีความรับผิดชอบตามไปด้วย"
ทั้งนี้ เมื่อย้อนดูคุณลักษณะของชนชั้นผู้นำของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของฝ่ายบริหารประเทศ อย่างเช่น นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ก็ให้นึกสงสัยว่ามีจิต 5 ประการดังกล่าวหรือไม่ มากน้อยเพียงใด หากพิจารณาจากสภาพข้อเท็จจริงที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ก็น่าเชื่อได้ว่า คงมีจิต 5 ประการดังกล่าวข้างต้นน้อยมาก ไม่เช่นนั้นแล้ว คงไม่เป็น "นอมินี" ให้คนอื่นเขาหรอก
ส่วนชนชั้นผู้นำระดับรองๆ ลงมาในรัฐบาลหลายคนคงขาดจิต 5 ประการนี้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น รัฐมนตรีบางคนน่าจะขาดจิตชำนาญการ มิฉะนั้นแล้ว ก็น่าจะแก้ปัญหาเรื่องข้าวได้ หรือรัฐมนตรีบางคนอาจจะขาดจิตสังเคราะห์ และจิตสร้างสรรค์ไป ก็เลยเป็นได้แค่ "เป็ด" เหล่านี้ เป็นต้น
ส่วนจิตจริยธรรม อาจจะหาได้ยากมาก มิฉะนั้นแล้ว คงไม่ดึงดันเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อช่วยเหลือผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางการเมือง บางคน และบางกลุ่มที่กำลังถูกดำเนินคดีอยู่ให้พ้นผิดไป โดยผลของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แบบไม่ต้องต่อสู้ใดๆ ทางระบบศาลเลย
ในประการสุดท้าย "จิตเคารพ" ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับความเป็นประชาธิปไตย เพราะเป็นการยอมรับความแตกต่างในความหลากหลายทางความคิด แต่ดูเหมือนชนชั้นนำในขณะนี้น่าจะขาดจิตประการนี้ไป หรือไม่ก็มีน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทีท่า และการปฏิบัติการของชนชั้นผู้นำ ที่ปรากฏทางรายการสนทนาประสาสมัคร เมื่อวันเสาร์ก่อนหน้าโน้น ว่า จะสลายม็อบประชาชนอย่างเด็ดขาด รวมไปถึงปฏิบัติการจับอธิบดีกรมดีเอสไอ เมื่อเร็วๆ นี้ ก็น่าเชื่อว่าคงหาจิตเคารพไม่ได้แน่ เพราะท่าทีการแสดงออกที่ปรากฏให้เห็น ให้ได้ยินนั้นมันดูเหมือนเป็น "จิตสังหาร" มากกว่า
หมายเหตุ : ข้อมูลส่วนหนึ่งอ้างอิงจากหนังสือ "จิต 5 ปั้นยอดมนุษย์" แปลโดย เสาวลักษณ์ อัศวเทววิช และวีรวุธ มาฆะศิรานนท์ สำนักพิมพ์เอ็กซเปอร์เน็ท
ที่มา: http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2008q2/2008june10p4.htm
ศาสตร์แห่งการเป็นยอดคน 7 ประการ
สัปปุริสธรรม 7 ธรรมของคนดี ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดี
1. ธัมมัญญุตา = รู้จักเหตุ
ความรู้จักธรรม หรือ รู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล รู้จักวิเคราะห์สาเหตุของสถานการณ์และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล อาทิ นักเรียนรู้ว่าจะเรียนอย่างไร ต้องปฏิบัติอย่างไร ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมข้อนั้นๆ คืออะไร มีอะไรบ้าง พระมหากษัตริย์ทรงทราบว่าหลักการปกครองตามราชประเพณีเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้ จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการอันนั้น เป็นต้น
2. อัตถัญญุตา = รู้จักผล
ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักนั้นๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้างดังนี้เป็นต้น
3. อัตตัญญุตา = รู้จักตน
ความรู้จักตน คือ รู้ว่าตัว เรานั้น ว่ามีสถานภาพเป็นอะไร ฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น ว่าขณะนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป
4. มัตตัญญุตา = รู้จักประมาณ
ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ นักเรียนรู้จักประมาณ กำลังของตนเองในการทำงาน รัฐบาลรู้จักประมาณการเก็บภาษีและการใช้งบประมาณในการบริหารประเทศ เป็นต้น
5. กาลัญญุตา = รู้จักกาล
ความรู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น
6. ปริสัญญุตา = รู้จักชุมชน
ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักกลุ่มบุคคล รู้จักหมู่คณะ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา ต้องทำกิริยาหรือปฏิบัติแบบนี้ จะต้องพูดอย่างไร ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างไร เป็นต้น
7. ปุคคลปโรปรัญญุตา = รู้จักบุคคล
ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า มีอัธยาศัย มีความสามารถ มีคุณธรรม เป็นต้น ผู้ใดหยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ด้วยดี ว่าควรจะคบหรือไม่ จะใช้ จะตำหนิ หรือยกย่อง และแนะนำสั่งสอนอย่างไร เป็นต้น
แหล่งข้อมูล : http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit1/chapter%205/teachings/sappuris7.htm
No comments:
Post a Comment